ร้านนฤมลเภสัช
ได้จัดทำเวปนี้ขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการให้ความรู้เกี่ยวกับ ยา

วิธีการใช้ ต่างๆ รวมถึงในเรื่องการดูแลสุขภาพ

และขอเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ของชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง

และรวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

เว็บสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี

ข้อความ

พร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

เพื่อต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี

ร้านนฤมลเภสัช
ได้จัดทำเวปนี้ขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการให้ความรู้เกี่ยวกับ ยา

วิธีการใช้ ต่างๆ รวมถึงในเรื่องการดูแลสุขภาพ

และขอเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ของชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง

และรวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

เว็บสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี

ข้อความ

พร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

เพื่อต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี





ร้านนฤมลเภสัช
ได้จัดทำเวปนี้ขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการให้ความรู้เกี่ยวกับ ยา วิธีการใช้ ต่างๆ รวมถึงในเรื่องการดูแลสุขภาพ และขอเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ของชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง และรวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เว็บสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี พร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

ไมเกรน

Migraine
ไมเกรน : เป็นอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจาก เส้นเลือดในสมองขยายตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วไปมีผลกระทบกับเส้นประสาทบริเวณนั้นทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่แบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
1. ระยะ Prodrome พบได้ 60% ของผู้ป่วยเกิดก่อนอาหาร ปวดศีรษะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
โดยอาการอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 Psychological prodrome ได้แก่ ความรู้สึกหดหู่ euphoria หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่ายอ่อนล้า ง่วงนอน
1.2 Neurological prodrome ได้แก่ photophobia, phonophobia, hypersomnia
1.3 Constitutional prodrome ได้แก่ คนคอแข็ง รู้สึกหนาว ๆ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องเสีย บวมน้ำ อยากอาหาร อาการเหล่านี้จะต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่จะมีลักษณะเฉพาะในบุคคลนั้น
2. ระยะ Aura พบได้ 20% ของผู้ป่วย โดยจะเกิดขึ้น 5-20 นาทีก่อนอาการปวดศีรษะ และกินเวลาไม่เกิน 60 นาที มักเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ลักษณะสายตามีความผิดปกติเป็นแบบ hemianopic distribution นอกจากนี้อาจจะมีอาการชาหน้า และแขนขาข้างเดียวกัน
3. ระยะปวดศีรษะ มีอาการปวดข้างเดียวแบบตุ้บ ๆ มีอาการมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรม เป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจปวดทั้งสองข้าง ( พบประมาณ 40 % ) หรือเริ่มจากข้างเดียวก่อนแล้วต่อมาเป็นลามทั้งศีรษะ อาการปวดจะเกิดได้ทุกช่วงของวันแต่มักเป็นช่วงเช้า อาการจะค่อย ๆ เป็น
อาการที่พบร่วมกัน ได้แก่ คลื่นไส้ พบ 90 % อาเจียนพบ 33% ไวต่อแสงเสียง และกลิ่น อาจมีอาการเห็นภาพไม่ชัด คัดจมูก เบื่อหรืออยากอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย หนังศีรษะและใบหน้าบวม ส่วนอาการเจ็บหนังศีรษะ เส้นเลือดบริเวณขมับโปน หรือคอแข็งนั้นพบได้บ้าง
4. ระยะสิ้นสุดและตามหลังอาการปวดศีรษะ ส่วนมากจะมีอาการตรงข้ามกับระยะ prodrome เช่น
ถ้าระยะ prodrome มีอาการกระหายน้ำ ระยะนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย
ถ้าระยะ prodrome มีอาการอยากอาหาร ระยะนี้จะมีอาการเบื่ออาหารเป็นต้น
การวินิจฉัยไมเกรน โดยอาศัย IHS Classification 1988 แบ่งไมเกรนออกเป็น
1. ไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้
1.1 เกิดอาการแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง (อย่างน้อย 5 ครั้ง)
1.2 อาการปวดกินเวลานาน 4-72 ชั่วโมง
1.3 ลักษณะอาการปวด 4 อย่าง คือ เป็นข้างเดียว เป็นจังหวะ ปวดปานกลางถึงรุนแรง เป็นรุนแรงขึ้นเมื่อทำกิจกรรม
1.4 อาการร่วมได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน กลัวเสียง กลัวแสง
1.5 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ
2. ไมเกรนที่มีระยะ aura อาศัยหลักดังนี้
2.1 เกิดขึ้นบ่อยครั้ง น้อยกว่าของไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura (เพียง 2 ครั้ง)
2.2 เน้นลักษณะของ aura คือ เป็นนานกว่า 4 นาที แต่ไม่นานกว่า 60 นาที และจะมีอาการปวดศีรษะตามมาภายใน 60 นาที
2.3 ไม่มีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้ปวดศีรษะ
3. ไมเกรนที่มีลักษณะพิเศษอื่น ๆ เช่น
3.1 เกี่ยวกับระยะ aura เช่น มีลักษณะของ aura จำเพาะได้แก่มี homonymous visual disturbance, อ่อนแรง หรือชาข้างเดียว, aphasia ใน migraine with typical aura หรือมีระยะ aura นานกว่า 60 นาที แต่น้อยกว่า 7 วัน ใน migraine with prolonged aura หรือมีระยะ aura เกิดสั้นภายใน 4 นาที ใน migraine with acute onset aura
3.2 มีประวัติครอบครัวใน familial hemiplegic migraine
3.3 basilar migraine มีลักษณะของ aura เป็นอาการที่เกิดที่ basilar artery
3.4 ไม่มีอาการปวดศีรษะตามมาใน migraine without headache
3.5 เกี่ยวกับอาการทางตา เช่น มีอาการอัมพาตของเส้นประสาทสมองที่ 3,4 และ 6 ใน ophthalmoplegic migraine หรือมี scotoma ใน retinal migraine
3.6 เกิดในเด็กได้แก่ benign paroxysmal vertigo of childhood และ alternating gemiplegia of childhood
3.7 มีลักษณะเข้าได้มากกว่า 1 รูปแบบของไมเกรน และยังพบว่าผู้ป่วยไมเกรนที่มีระยะ aura มักจะมีช่วงที่เป็นไมเกรนที่ไม่มีระยะ aura ด้วย และจากสถิติของคลินิกปวดศีรษะของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังพบผู้ป่วยไมเกรนมีอาการปวดศีรษะแบบ tension-type ได้ 23 ราย ต่อผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย
จากบทความของ
นพ. บัลลังก์ เอกบัณฑิต
และ นพ. กัมมันต์ พันธุมจินดา
ข้อแนะนำสำหรับการจัดการกับไมเกรน
1. กินยารักษาอาการให้เร็วที่สุดเมื่อรู้สึกได้ถึงอาการ
2. นอนพักให้ห้องที่มืด-ปิดตา ผ่อนคลายร่างกาย หายใจลึก ๆ
3. ประคบเย็นบริเวณ หัว และคอ
4. เมื่ออาการดีขึ้นก็ให้อาบน้ำอุ่นเพื่อการผ่อนคลาย รวมถึงการเดินผ่อนคลายด้วย
5. นวดด้านหลังคอ และไหล่
6. ใช้หัวแม่มือกดด้วยน้ำหนักที่เหมาะสม บริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 10 วินาที แล้วคลาย
คำศัพท์
Euphoria = ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม
Photophobia = ทนแสงไม่ได้
Phonophobia = ทนเสียงไม่ได้
Hypersomnia = นอนนานเกินไป
Hemianopic = ตาบอดครึ่งหนึ่ง
Homonymous = ซึ่งมีชื่อหรือเสียงเดียวกัน, ซึ่งมีความสัมพันธ์เดียวกัน
Asphasia = ไม่สามารถควบคุมหรือเข้าใจการพูด
Hemiplegic = อัมพาตข้างเดียว
Ophthalmoplegic = กล้ามเนื้อตาอัมพาต
Scoloma = จุดบอดคล้ายเกาะของตา